Translate

14 ธ.ค. 2561

เครดิตบูโร คืออะไร

  

เครดิตบูโรคืออะไร

  
    สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงการกู้เงิน คงเคยได้ยินคำว่า เครดิตบูโร กันนะครับ แต่ทราบกันไหมครับว่า คืออะไรและสำคัญอย่างไรกับเรา

      เครดิตบูโร หรือคะแนนเครดิต (credit score) คือ ตัวชี้วัดความน่าจะเป็นในการชาระคืนหนี้ โดยใช้วิธีทางสถิติในการประมวลผลข้อมูล

     สำหรับ บริษัทที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลและประมวลผลมาเป็น คะแนนเครดิตนั้นก็คือ เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต (National Credit Bureau) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลายๆ แห่งที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร นำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิต โดยสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจะสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตได้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจใสนการอนุมัติสินเชื่อ
   
     ซึ่งฐานข้อมูลเครดิตบูโรประกอบด้วย 
     1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้ขอสินเชื่อและคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น กรณีบุคคลธรรมดา คือ ชื่อนามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน กรณีนิติบุคคล คือ ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนการจัดตั้ง นิติบุคคล หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เป็นต้น 
     2. รายละเอียดประวัติการขอสินเชื่อ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และ การชำระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของบุคคลหรือนิติบุคคล ทุกประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อธุรกิจ เป็นต้น

      สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบ สถานะเครดิตบูโรปัจจุบันของตนเอง สามารถศึกษาได้จากลิ้งค์นี้เลยครับ ตรวจเครดิตบูโร ได้ที่ไหนบ้าง?


เราสามารถฟื้นฟูเครดิตให้กลับมาดีได้

            1. การติดแบล็กลิสต์หรือติดเครดิตบูโรตลอดชีวิตนั้นไม่จริง เครดิตรบูโรจะเก็บข้อมูลของเราย้อนหลังเพียง 3 ปีเท่านั้น
      2. พยายามชดใช้หนี้ที่มีอยู่ให้หมดหรือทยอยชำระเป็นงวดๆโดยต้องไม่ล่าช้าและไม่ผิดนัดชำระอย่างเด็ดขาด จนครบ 3 ปี ประวัติเครดิตของคุณก็จะกลับมามีสภาพที่ดีและน่าเชื่อถืออีกครั้ง
      3. หากมีภาระหนี้ที่หนัก สิ่งที่ต้องทำคือติดต่อธนาคารเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ภาระหนี้ต่อเดือนของคุณน้อยลงไป และมีเงินเหลือเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของคุณในเดือนนั้นๆ

แนวทางในการสร้างเและบริหารเครดิต


      1. สร้างประวัติเครดิตดีในระบบด้วยการเลือกสมัครบัตรเครดิตสักใบที่เหมาะสมกับการใช้จ่ายประจำของคุณ และแบ่งการใช้จ่ายประจำที่มีอยู่แล้วมาชำระผ่านบัตรเครดิต เช่น จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ซื้อกองทุน หรือซื้อของใช้ในบ้าน ด้วยการผ่อน 0% ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้และชำระค่าบัตรเครดิตให้ตรงเวลา ชำระเงินเต็มจำนวนเสมอ เพื่อป้องกันดอกเบี้ย
      2. อย่าเพิ่งรีบปิดบัตร สำหรับคนที่ใช้บัตรเครดิต และมีประวัติชำระดีอยู่แล้ว ถ้าไม่ได้มีความจำเป็นก็อย่าเพิ่งรีบปิดบัตร เก็บประวัติไว้สร้างคะแนนให้เราดีกว่า และอย่าสมัครบัตรใหม่บ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ดูมีข้อน่าสงสัย
      3. ควบคุมสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ประจำ และไม่ก่อหนี้ที่ไม่ก่อประโยชน์ในอนาคต ตัวอย่างหนี้ที่ดี เช่น สินเชื่อเพื่อการศึกษา และสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย

    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น